w w w . t h a i o r t h o . p o l z a r . c o m

ภาวะฟันสบเหลื่อมชนิด Class II Division II Overbite

ก่อนเข้ารับการรักษา

ภาวะฟันสบเหลื่อมชนิด Class II Division II Overbite ป็นภาวะกระดูกขากรรไกรผิดปกติอย่างรุนแรงชนิดหนึ่งที่บ่อยครั้งจะเป็ นการได้รับถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งจะพบได้ใน 20 เปอร์เซ็น ของผู้ป่วยมีภาวะกระดูกขากรรไกรผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีฟันสบเหลื่อมชนิด Class II Division II Overbite หากไม่เข้ารับการรักษา มักจะป่วยเป็นโรคข้อต่อขากรรไกรทำงานไม่ปกติ กระดูกข้อต่อขากรรไกรเคลื่อน กระดูกข้อต่อขากรรไกรมีแรงกดเสียดสีกันมากเกินไป และจึงทำให้กระดูกเสื่อมเร็ว บางครั้งผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงความผิดปกติ โดยในขณะอ้าปากอาจมีเสียงลั่นเบาๆ

การรักษาใช้เวลานาน 3 ปี 4 เดือน

หลังได้รับการรักษา

ผู้ป่วยภาวะฟันสบเหลื่อมชนิด Class II Division II Overbite เมื่อได้รับการรักษาหายดีแล้วมีโอกาสฟันเคลื่อนกลับตำแหน่งเดิมได้สูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเริ่มต้นทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ (การรักษาแบบหลายขั้นตอน) และต้องใช้เครื่องมือจัดฟันที่มีประสิทธิภาพสูง (เทคนิคของ Wilson) จากการใช้แผนการรักษาของเรา เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่พบว่าผู้ป่วยมีฟันเคลื่อนที่กลับตำแหน่งเดิมน้อยมาก

ก่อนเข้ารับการรักษา

ขณะเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยอายุ 11 ปี มีขากรรไกรล่างที่หลุบถอยไปด้านหลังอย่างมาก และถูกฟันหน้าบนกลางที่งุ้มเข้าครอบปิดทั้งหมด จะมองไม่เห็นฟันตัดล่างเพราะมีภาวะสบลึก กระดูกขากรรไกรบนและล่างเล็กอันจะสังเกตได้จากฟันหน้าบนและล่างซ้อนเกอย่างเห็นได้ชัด

หลังได้รับการรักษา

ผู้ป่วยมีภาวะฟันสบเหลื่อมชนิด Class II Division II Overbite ได้รับการรักษาแบบหลายขั้นตอน ในขั้นแรกใช้เครื่องมือกระตุ้นแอกติเวเตอร์ KI II 2 และต่อมาใช้เครื่องกระตุ้นเพื่อจัดฟันแบบของ Prof. Sander (VDP) และเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น โดยใช้เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้นาน 23 เดือน และเครื่องมือชนิดติดแน่น 17 เดือน

สภาพฟันก่อนรักษา

สภาพฟันหลังรักษา

เครื่องมือกระตุ้นเพื่อจัดฟันแอกติเวเตอร์ในภาวะฟันสบเหลื่อม

เครื่องมือใช้กระตุ้นเพื่อจัดฟัน VDP

เครื่องมือจัดฟันชนิด มัลติแบนค์ ที่ใช้ในผู้ป่วยรายนี้

เปรียบเทียบรูปหน้าด้านข้าง

ก่อนรักษา

หลังรักษา

upwards

Last update 21.11.2008. This Page is not supported by anybody and does not accept advertisement and the content is originated to the autor vis. Prof. Dr. Gerhard Polzar (K.K.U.), Orthodontist.